วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การทดลอง

Cantenna คือเสาสัญญาณที่ช่วยเร่งสัญญาณไวร์ไฟร์ให้ได้ไกลกว่าเดิม ใช้ได้ทั้งเครื่องรับ และเครื่องส่ง ซึ่งในการทดลองของกลุ่มเราได้ใช้กับเครื่องส่ง
ตอนที่ 1
วัตถุประสงค์
  1. สามารถตรวจจับความแรงของสัญญาณของ Access Point ที่ติดตั้งได้
  2. สามารถเปรียบเทียบความแรงของสัญญาณของ Access Point ที่ติดตั้ง ระหว่างantennaแบบเสาอากาศกับcantenna

    ความรู้พื้นฐาน
  • มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11
  • การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายแบบ Infrastructure Mode


ขั้นตอนการปฏิบัติการ

  1. ติดตั้งโปรแกรม Network Stumbler
    จากการ run โปรแกรม Network Stumbler เพื่อเปรียบเทียบความแรงของสัญญาณของ Access Point ที่ติดตั้ง ระหว่างantennaแบบเสาอากาศกับcantenna
  2. วัดระยะห่างระหว่าง ADSL Router กับ notebook เป็นระยะทาง 5 เมตร
  3. ติดตั้งantennaแบบเสาอากาศที่Routerแล้ว run โปรแกรม Network Stumbler เพื่อวัดความแรงของสัญญาณของ Access Point
  4. เปลี่ยนเสาอากาศเป็น cantenna แล้ว run โปรแกรม Network Stumbler เพื่อวัดความแรงของสัญญาณของ Access Point
  • รูปที่แสดงด้านบน เราต้องการให้เห็นบรรยากาศในการจัดวางของตัวเครื่องที่จะใช้เป็นเครื่องส่งในการทดสอบในครั้งนี้ ว่ามันมีการจัดวางอยู่ในลักษณะใดสำหรับทิศทางการจัดวางของเสาส่งสัญญาณทั้งสองตัวที่เราทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบกัน โดยADSL Router ที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้รุ่นDSL-G604Tจาก D-LinKใช้กับมาตรฐาน (802.11g ความถี่ 2.4 GHz ความเร็วสูงสุด 54 Mbts) ส่วนระยะและทิศทางในการจัดวางนั้น เราก็ได้ทำการวางเสาส่ง wireless ทั้งสองตัวให้มีระยะและทิศทางรวมทั้งความสูง ให้อยู่ในจุดที่ใกล้เคียงกันที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้มีน้อยที่สุด


ผลการทดลองตอนที่ 1
1.antenna แบบเสาอากาศ


2.cantenna



สรุปผลการทดลองตอนที่1

เราก็ได้ทำการทดสอบด้วยการวัดว่าสัญญาณ db ซึ่งค่า db ในส่วนนี้ หากค่าที่อ่านออกมามีค่ายิ่งมากก็จะให้ผลดี ในที่นี้ Software ที่เราเลือกใช้ในการวัดค่า db ของสัญญาณ เราเลือกใช้โปรแกรม Network Stumbler และผลจากการทดสอบก็ยังให้ผลเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับทฤษฏี คือผลที่ออกมาสัญญาณที่ส่งได้จาก เสา wireless ที่ทำการ modify ขึ้นมาเป็น cantennaสามารถให้ค่าที่สูงกว่าเสาสัญญาณมาตรฐานคือผลที่ออกมาสัญญาณที่ส่งได้จาก เสา wireless ที่ทำการ modify ขึ้นมาเป็น cantennaสามารถให้ค่าที่สูงกว่าเสาสัญญาณมาตรฐาน อยู่ประมาณ 10db ด้วยกัน โดยเราจะเห็นว่าจากช่วงเวลาที่ออกมาในการทดสอบ ค่าความเข้มของสัญญาณจากเสาส่งสัญญาณcantennaสามารถส่งสัญญาณ wireless เพิ่มขึ้นมาได้ในระดับ -38db โดยประมาณ แต่กับเสาสัญญาณรูปเดิมจะอยู่ในช่วง -48db โดยประมาณ และก็เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าในการ Modify ของเราในครั้งนี้ ประสบผลสำเร็จ สามารถให้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นได้จริงๆ กับcantenna ^^

ทำการทดลองวันที่: 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ตอนที่ 2
จุดประสงค์

  • ทดสอบคุณสมบัติของ cantennaซึ่งทางกลุ่มเราได้ใช้กับเครื่องส่ง

ขั้นตอนการปฏิบัติการ

  • โดยปรับcantenna ให้จุดอ้างอิง cantenna อยู่ที่ 0 องศา


  • ตั้งระยะห่างระหว่างcantenna (เครื่องส่ง) กับ notebook (เครื่องรับ) เป็นระยะทาง 15 เมตร
  • ปรับสเกลไปที่ 0 องศา 10 องศา 20 องศา 30 องศา 45 องศาตามลำดับ วัดผลจากเครื่องรับ (Notebook) และบันทึกผลการทดลอง

0 องศา ,10 องศา

20 องศา, 30 องศา45 องศา

ผลการทดลองตอนที่2

0 องศา

10 องศา
20 องศา

30 องศา
45 องศา

สรุปผลการทดลองตอนที่ 2

เราก็ได้ทำการทดสอบด้วยการวัดว่าสัญญาณ db ซึ่งค่า db ในส่วนนี้ หากค่าที่อ่านออกมามีค่ายิ่งมากก็จะให้ผลดี โดยเราจะเห็นว่าจากช่วงเวลาที่ออกมาในการทดสอบ ค่าความเข้มของสัญญาณจากเสาส่งสัญญาณcantennaสามารถส่งสัญญาณ wireless จะอยู่ในช่วง -38 db,-43db,-44db,-47db,-52db โดยประมาณตามลำดับ ผลที่ออกมาสัญญาณที่ส่งได้จาก เสา wireless ที่ทำการ modify ขึ้นมาเป็นcantennaสามารถให้ค่าสูงที่สุดเมื่ออยู่ตำแหน่งที่ 0 องศาและค่าจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหมุนองศาเพิ่มขึ้นที่45 องศา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า cantenna ส่งสัญญาณทำมุม30 องศาตามทฤษฎีจิงๆ

  • ในส่วนนี้กับบทสรุปในการทดสอบในอีกหนึ่งรูปแบบของเรา กับการ Modify เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน Wireless ให้สูงขึ้น ในส่วนของเจ้า cantenna กับภาคส่ง ก็ไม่ทำให้ผิดหวังตามที่คาดไว้ในตอนแรก ก่อนที่จะเริ่มต้นโปรเจคนี้ขึ้นมา ถึงแม้ว่าในตอนแรกที่เริ่มคิดโปรเจคนี้ขึ้นมา และได้ไปเดินเลือกซื้อกระป๋องมาวางไว้ มีคำถามจากคนรอบข้างที่อาศัยอยู่ด้วยกันว่า จะทำได้จริงรึ ? ทางเราได้ค้นหาข้อมูลทั้งอุปกรณ์รายละเอียดทุกๆอย่าง รวมทั้งหาข้อมูลโดยตรงจากทางร้านค้าอุปกรณ์ที่ได้ซื้อ มีทั้งลองถูกลองผิดแต่ทางเราก็ไม่ย้อท้อทำจนเป็นเจ้า cantenna ตามที่เห็น
  • เอาหละตรงจุดนี้กับการทดสอบการ Modify ของเราในวันนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นเท่านั้นซึ่ง ทางเราได้เล็งเห็นประโยชน์ของเจ้าcantennaในภาคส่งเนื่องจากการเดินทางของสัณญาณเป็นมุม 30 องศาจึงทำให้เจ้าcantenna เป็นอุปกรณ์ที่สามารถมุ่งส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยตรง รวมทั้งการ Modifyเจ้าcantenna ในรูปของภาครับด้วย แต่ก็คงต้องใช้เวลาอีกซักระยะกับการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เอาไว้พร้อมเมื่อไหร่และมีโอกาส แล้วเราจะทำการทดสอบให้ได้ชมกันใหม่อีก

ไม่มีความคิดเห็น: